ปราบขยะ รีไซเคิล ขยะคือขุมทอง

| วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557
กองขยะเปรียบเสมือนขุมทรัพย์อันเป็นที่พึ่งของคนจนมาทุกยุคทุกสมัย หลายคนยึดอาชีพนี้เป็นฟันเฟืองหลักในการหล่อเลี้ยงชีวิต แต่ใครจะคิดว่าเด็กรุ่นใหม่จะเห็นคุณค่าและรายได้จากการขายขยะ ผุดไอเดียเปิดร้านรับซื้อของเก่า “ปราบขยะ” ต่อยอดแฟรนไชส์กับการรีไซเคิลขยะกองโต
     
       จากเด็กหนุ่มที่ครอบครัวเคยมีฐานะกับธุรกิจโรงกลึง กลับต้องล้มละลายจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 ต้องกู้เงินเรียนต่อ เจรจาผ่อนผันหนี้ให้ครอบครัวหวั่นโดนยึดบ้าน ประสบการณ์ชีวิตเหล่านี้ “ธีรวงศ์ สรรค์พิพัฒน์” ผ่านมาหมดแล้ว...

ขยะเริ่มมีคุณค่าทางความคิดของเขานับตั้งแต่นั้น แต่ยังไม่ได้มองเป็นภาพธุรกิจที่ชัดเจน โดยจุดเปลี่ยนชีวิตก็เกิดขึ้นอีกครั้งกับ 'กิเลส' ของเขาเองที่อยากได้เรือยอร์ชไว้ขับเล่นสักลำเหมือนดาราฮอลลีวู้ด จึงถึงเวลาที่เขาต้องหาอาชีพหลักเพื่อหาเงินซื้อความฝัน
     
       “ขยะ” เป็นสิ่งแรกที่เขาคิด โดยมองว่าเป็นงานง่าย ไม่ต้องใช้เงินลงทุนมากนัก แต่เมื่อลงมือทำจริงจังเรียกได้ว่า 'งานนี้ไม่หมูเลย' เริ่มจากให้คุณแม่หาที่ดิน สุดท้ายมาได้ของเพื่อนแม่จำนวน 2ไร่ ย่านปทุมธานี แบ่งให้เช่า เดือนละ 3,000 บาท เห็นราคาเช่าถูกอย่างนี้ แต่เมื่อมองในเรื่องของทำเล ถือว่าไม่ดีนักเพราะอยู่ไกลจากถนนใหญ่หลายสิบกิโลเมตร แต่ข้อดีของทำเลนี้ คืออยู่ใกล้ชุมชนประมาณ 40 ไร่ และมีสลัม เขาตัดสินใจเดินเคาะประตูตามบ้านเพื่อรับซื้อขยะ มีคนให้ฟรีก็มี พอของเริ่มเยอะ ก็มีคนมารับซื้อเพื่อไปขายต่อ สร้างกำไรเป็นทอดๆ รายได้เหล่านี้ถือว่าไม่น้อยเลย สามารถหล่อเลี้ยงตัวเองได้

แต่นั่นกลับไม่ได้สร้างแรงฮึด! ให้เขามุ่งมั่นในการสานต่อธุรกิจครอบครัวมากนัก เหตุเพราะไม่ชอบงานโรงกลึง รู้สึกว่าทำให้มือดำ มือด้าน พอไปจับมือสาวแล้วไม่นุ่ม
     
       กระทั่งไปเจอคุณยายคนหนึ่งมีอาชีพเก็บขยะขาย ตนเองรู้สึกสงสารจึงให้เงินคุณยาย แต่คุณยายไม่รับ กล่าวเพียงสั้นๆ ว่ายายมีเงินแล้ว พร้อมก้มหน้าก้มตาหาขยะต่อไป เหตุการณ์ครานั้น แปรเปลี่ยนเป็นข้อสงสัยที่เขานำมาขบคิด ถึงรายได้จากการเก็บขยะขายว่ามากพอสำหรับการเลี้ยงชีพได้จริงหรือ?!?
จากที่ดินเปล่า ถูกสร้างเป็นเพิงสังคาสังกะสีมือสอง กับไม้ยูคาลิปตัสเป็นเสาอย่างง่าย หวังเพียงให้คุ้มแดดคุ้มฝน ไม่ให้ข้าวของเปียกเท่านั้น ใช้เป็นออฟฟิศแห่งของเด็กหนุ่มวัยเพียง 20 ต้นๆ ที่ใครจะคิดว่าต่อมาจะเป็นเศรษฐีร้อยล้านจากสิ่งที่เรียกว่า 'ขยะ'!!
     
       เมื่อตัดสินใจแน่วแน่กับธุรกิจขยะ เขาจึงศึกษาเรื่องการคัดแยกขยะอย่างจริงจัง ซึ่งมีรายละเอียดมากกว่าเห็น ต้องลงมือคัดแยกขยะเองถึงจะรู้จริง แต่เขาหยุดดอยู่แต่การซื้อมาขายไป แต่กลับนำความได้เปรียบธุรกิจโรงกลึงของครอบครัว คิดค้นเครื่องจักรรีไซเคิลขยะแต่ละประเภทเพื่อเพิ่มมูลค่า นอกจากนำมารีไซเคิลขยะของตนเองที่รับซื้อมาแล้ว ยังสามารถขายเครื่องจักรให้แก่ร้านขายของเก่าทั่วไปได้อีกด้วย
ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เรียกได้ว่าธีรวงศ์ คลุกคลีในวงแวดวงขยะมาโดยตลอด เห็นโอกาสมากมายจากสิ่งไร้ค่าที่หลายคนมองข้าม ตัดสินใจขยายธุรกิจในรูปแบบแฟรนไชส์ หลังมีโอกาสเดินทางไปดูงานการฝังกลบขยะ รู้สึกเสียดายขยะจำนวนมหาศาลที่หากนำมาคัดแยกจะสร้างรายได้มากมาย ลำพังการคัดแยกขยะจากบริษัทที่ประมูลงานได้ และคนเก็บขยะถือว่ายังไม่เพียงพอ รวมถึงในแต่ละชุมชนก็มีขยะ หากได้รับการคัดแยก และมีแหล่งรับซื้อในชุมชน น่าจะเป็นอีกแนวทางหนึ่งในสร้างอาชีพให้ใครหลายคนได้
     
       ไอเดียแฟรนไชส์ “ปราบขยะ” เกิดขึ้นเมื่อ 3 ปีที่แล้ว และเป็นที่น่าสังเกตว่าผู้สนใจลงทุนกว่า 90% เป็นเด็กรุ่นใหม่ที่ไม่อยากเป็นลูกจ้างใคร เลือกรวยจากขยะ เพราะใช้เงินลงทุนเริ่มต้นเพียง 29,000 บาทเท่านั้น
แต่จุดเด่นของธุรกิจนี้ไม่เพียงแต่ใช้เงินลงทุนต่ำ แต่ยังมีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย ออกแบบระบบการบริหารจัดการให้เถ้าแก่เหนื่อยน้อยที่สุด ป้องกันการโกงกิโลของลูกน้อง โดยที่เถ้าแก่ไม่ต้องยืนเฝ้า และที่โดดเด่นสุด! คือระบบ Gold Suft ให้แฟรนไชส์ซีเช็คราคากลางการซื้อ-ขาย ขยะรีไซเคิลได้ ช่วยตัดสินใจว่าจะนำขยะที่คัดแยกแล้วมาขายให้แก่แฟรนไชส์ซอว์หรือไม่ หรือนำไปขายให้ผู้รับซื้ออื่นก็ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ลูกค้ามั่นใจในเรื่องราคาขายที่เหมือนกันทุกสาขา
ส่วนผู้ที่สนใจลงทุนแฟรนไชส์ ธีรวงศ์ บอกว่า ต้องตั้งใจจริง ยอมเหนื่อย ทนกับอากาศร้อน อยู่กับสิ่งสกปรกได้ เพราะเขาจะอบรมผู้สนใจ 2 วัน ลงพื้นที่จริง ปีนรถกระบะขึ้นไปผูกเชือก ยกสินค้าขึ้นรถด้วยตัวเอง ซึ่งมีหลายรายถอดใจไปก็มี ดังนั้นการลงทุนควรเริ่มจากขนาดเล็กก่อน มีพื้นที่ประมาณ 50 ตารางวาก็ทำได้


แฟรนไชส์ 90 สาขาใน 3 ปี ถือว่าไม่ธรรมดา กับขยะที่ไร้ค่า นอกจากเจ้าของไอเดียธุรกิจจะมีรายได้เป็นร้อยล้านด้วยวัยเพียง 30 ต้นๆ เท่านั้น แต่เด็กรุ่นใหม่ที่เป็นแฟรนไชส์ซี ก็มีเงินผ่อนบ้าน ผ่อนรถ อย่างสบาย นี่หรือคือธุรกิจจาก “ขยะ” ที่ถูกมองข้าม...

สนใจติดต่อ 0-2979-3336, 0-2977-7797 หรือที่ www.prabkaya.co.th



ที่มา...http://www.manager.co.th/

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น

Next Prev
▲Top▲